‘ค่าเงินบาทวันนี้’ 36.10 บาท ทิศทางยังผันผวน ระวังแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า

น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้ 23 พ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ปรับตัวอยู่ที่ระดับ 36.10-36.13 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้า 09.10 น. ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 36.09 บาทต่อดอลลาร์ ภาพรวมการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชียมีทิศทางปะปน

ขณะที่เงินดอลลาร์ ขาดแรงหนุน เนื่องจากตลาดอยู่ระหว่างรอติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อวันที่ 1-2 พ.ย. (FOMC minutes) เพื่อประเมินสัญญาณเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 35.90-36.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือน ต.ค. และทิศทางฟันด์โฟลว์ของไทย ผลการประชุมธนาคารกลางนิวซีแลนด์ และดัชนี PMI ขั้นต้นเดือน พ.ย. ของยูโรโซนและสหรัฐฯ

ส่วนปัจจัยจากฝั่งสหรัฐที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่เดือนต.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย. ของสหรัฐ และรายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 1-2 พ.ย.

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า บรรยากาศในตลาดหุ้นสหรัฐพลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกครั้ง หลังถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด สาย “Hawkish” ไม่ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (แต่ยังคงสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ) ประกอบกับผู้เล่นในตลาดต่างรอจับตารายงานผลการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐย่อตัวลดลงสู่ระดับ 3.76% หนุนให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนกลับเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ที่ปรับตัวลงแรงในช่วงก่อนหน้า อาทิ Nvidia +4.7%, Apple +1.5%

ทั้งนี้ ไฮไลต์วันนี้จะอยู่ที่ รายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) ในช่วงเช้าตรู่ของวันพฤหัสฯ โดยผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานการประชุมเฟดอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด โดยเฉพาะระดับดอกเบี้ยสูงสุดของเฟด หรือ Terminal Rate หลังบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างออกมาสนับสนุนอัตราการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจชะลอลงจากช่วงก่อนหน้า (จาก +0.75% เหลือ +0.50%)

ส่วนในฝั่งไทย ตลาดคาดว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจได้รับผลกระทบจากภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยยอดการส่งออก (Exports) อาจโตเพียง 5.5%y/y ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) ยังโตกว่า +10%y/y ทำให้ดุลการค้า (Trade Balance) ในเดือนตุลาคมอาจกลับมาขาดดุลถึง -1.4 พันล้านดอลลาร์

ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า แม้ว่า เงินบาทจะแข็งค่าสวนทางกับแนวโน้มที่คาดการณ์ไว้ (คาดว่ามาจากแรงขายของผู้เล่นในตลาด อาทิ ผู้ส่งออกในจังหวะที่เงินบาทอ่อนค่าใกล้ระดับ 36.30 บาทต่อดอลลาร์) และบรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดก็อาจช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง แต่คงมุมมองเดิมว่า ควรระมัดระวังแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาทที่เริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยเห็นแรงขายทำกำไรสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น (นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยก็เริ่มมีสัญญาณอ่อนแรงลง)

นอกจากนี้ ควรจับตารายงานดัชนี PMIs ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐ เพราะหากออกมาดีกว่าคาดไปมาก ก็อาจทำให้ตลาดมองว่า ภาพเศรษฐกิจสหรัฐที่ไม่ได้ชะลอตัวลงหนัก อาจจะหนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หรือ “Good news could be Bad news for the market” (อนึ่ง หากออกมาแย่ไปมาก ก็อาจทำให้ตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งก็จะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้)

นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดควรระมัดระวัง รายงานการประชุมเฟดล่าสุด ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดผันผวนได้ในช่วงระหว่างที่รับรู้และตีความรายงานการประชุมดังกล่าว โดยประเด็นสำคัญที่ตลาดจะให้ความสนใจ คือ จุดสูงสุดของดอกเบี้ยเฟดจะอยู่ที่เท่าใด หลังประเด็นอัตราการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เริ่มชัดเจนมากขึ้นว่า เฟดอาจชะลออัตราการเร่งขึ้นดอกเบี้ยลงเหลือ +0.50%

ทั้งนี้ ประเมินว่า โซนแนวต้านของเงินบาทยังอยู่ในช่วง 36.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าบรรดาผู้ส่งออกต่างรอจังหวะทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วงดังกล่าว ในขณะที่โซนแนวรับก็จะอยู่ในช่วง 35.90 บาทต่อดอลลาร์ โดยเราคาดว่าผู้นำเข้าอาจทยอยเข้ามาซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนตามภาระที่ต้องจ่าย

Related Posts